ประโยชน์ของแผนที่

แผนที่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ ดังนี้
1.  ช่วยให้รู้จักที่ตั้งของประเทศ จังหวัด อำเภอ ภูเขา แม่นำ้ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น
2.  ช่วยให้เข้าใจลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น ภาคกลางมีที่ราบและแม่น้ำ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ภาคใต้มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ประชาชนมักประกอบอาชีพประมง เป็นต้น
3.  ช่วยในการเดินทาง แผนที่ที่นักเดินทางใช้ มักเป็นแผนที่ที่แสดงเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และบอกที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆ
4.  ใช้เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการวางแผนในการพัฒนาท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด และประเทศ

………………………………………….

การอ่านในใจ

       การอ่านในใจ  คือ การอ่านที่มีจุดมุ่งหมายจะจับใจความอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งมีความสำคัญมากและใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีความสามารถในการอ่านในใจจะเข้าใจและเรียนรู้เรื่องรู้ที่อ่านได้รวดเร็วกว่าการอ่านออกเสียง เพราะไม่ต้องกังวลกับการเปล่งเสียงให้ถกต้องตามอักขรวิธี
แนวปฏิบัติในการอ่านในใจ มีดังนี้

  1. ไม่ใช้นิ้วชี้ตามตัวอักษรขณะอ่าน
  2. กวาดสายตามองตัวอักษรจากซ้ายไปขวาอย่างรวดเร็ว
  3. ไม่อ่านย้อนหน้าย้อนหลัง
  4. มีสมาธิในการอ่าน ทำจิตใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่อ่าน
  5. ไม่ออกเสียง หรือทำปากขมุบขมิบ
  6. จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านให้ได้ โดยใช้วิธีตั้งคำถามสรุปเรื่องราวที่อ่าน เพื่อทดสอบความเข้าใจหลังจากอ่านจบ

……………………………………….

ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก

ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก  พืชดอกส่วนใหญ่มีส่วนประกอบหลักคล้ายคลึงกัน ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ผล และเมล็ด แม้ว่าแต่ละส่วนของพืชดอกจะทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ก็ทำงานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พืชดอกดำรงชีวิตอยู่และขยายพันธุ์สืบต่อไป

……………………………………….

ความหลากหลายของพืช

ความหลากหลายของพืช  พืชมีความหลากหลาย บางชนิดก็มีดอก บางชนิดก็ไม่มีดอก ด้วยความแตกต่างที่เห็นได้ชัดนี้ จึงมีการนำมาเป็นเกณฑ์ในการจำแนกพืช โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. พืชมีดอกหรือพืชชั้นสูง  คือ พืชที่มีระบบท่อลำเลียงและเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีดอกเพื่อใช้สืบพันธุ์ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ทานตะวัน บัว ชบา เฟื่องฟ้า มะม่วง มะเขือ ฟักทอง พริก จอก แหน
2.พืชไม่มีดอกหรือพืชไร้ดอก  คือ พืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียงและเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีดอกออกมา จึงต้องใช้วิธีอื่นๆ ช่วยในการสืบพันธุ์ เช่น มอส เฟิน ชายผ้าสีดา ปรงทะเล สนฉัตร สนสองใบ สนสามใบ แป๊ะก๊วย

………………………………………………..

สระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป ๓๒ เสียง

สระทั้ง ๒๑ รูป  มีลักษณะดังนี้

  1. ะ        วิสรรชนีย์
  2. า        ลากข้าง
  3. ั          ไม้ผัดหรือไม้หันอากาศ
  4. ิ          พินทุ์อิ
  5. ่          ฝนทอง
  6. ”         ฟันหนู
  7. ๐        นฤคหิตหรือหยาดน้ำค้าง
  8. ็          ไม้ไต้คู้
  9. ุ           ตีนเหยียด
  10. ู           ตีนคู้
  11. เ          ไม้หน้า
  12. ใ          ไม้ม้วน
  13. ไ          ไม้มลาย
  14. โ           ไม้โอ
  15. ย           ตัว ยอ
  16. ว           ตัว วอ
  17. อ          ตัว ออ
  18. ฤ          ตัว รึ
  19. ฤา        ตัว รือ
  20. ฦ          ตัว ลึ
  21. ฦา        ตัว ลือ

……………………………………………….

Present Continuous Tense

Present Continuous Tense   (ปัจจุบันกาลที่กำลังเกิดขึ้น)  เป็นการบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด โครงสร้างประโยคประกอบด้วย

Subject  +  v. to  +  v. ing

ตัวอย่างประโยค
–  The cat is sleeping on the sofa.
–  The football players are playing football.

…………………………………………

ตัวประกอบของจำนวนนับ

ตัวประกอบของจำนวนนับใดๆ คือ จำนวนนับทุกตัวที่หารจำนวนนับนั้นได้ลงตัว เช่น
จำนวนนับที่หาร 15 ลงตัว ได้แก่ 1,3,5,15
ดังนั้น 15 มีตัวประกอบ 4 ตัว คือ 1,3,5 และ 15
จำนวนเฉพาะ หมายถึงจำนวนนับที่มากกว่า 1 ที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัว คือ 1 กับ จำนวนนับนั้น เช่น 2,3,5,7,11 … เป็นต้น
ตัวประกอบเฉพาะ คือ ตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะ เช่น
ตัวประกอบของ 6 คือ 1,2,3,6
ตัวประกอบของ 6 ที่เป็นจำนวนเฉพาะ คือ 2,3
เรียก 2 และ 3 ว่าเป็นตัวประกอบเฉพาะของ 6

………………………………………….

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย

          ชนชาติไทยนับถือศาสนาพุทธต่อเนื่องกันมาช้านานแล้ว  จนถึงปัจจุบันนี้กว่า 2,000 ปีที่ชาวไทยส่วนใหญ่ยังคงนับถือศาสนาพุทธกันต่อเนื่องกันมา  พระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย เช่น วัดเป็นโรงเรียนที่ให้ความรู้อบรมสั่งสอนประชาชนทั้งหลาย  วัดเป็นเสมือนโรงพยาบาลที่ช่วยเหลือรักษาผู้ป่วยโดยใช้สมุนไพรหรือการแพทย์แผนไทย เช่น การบีบ นวด  (โยคีหรือฤาษีดัดตน)  วัดเป็นที่รวมของกิจกรรมต่างๆ ทั้งงานมงคลและอวมงคล โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำการให้โอวาทหรือคำสั่งสอนในกิจการนั้นๆ เป็นที่พึ่งพาของคนยากจน เป็นที่ให้ความรู้หลักธรรมจริยธรรมในการปกครองและการบริหารบ้านเมือง
ดังนั้น  วัดจึงเป็นศูนย์กลางเผยแผ่ศาสนาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของคนไทยที่ดีขึ้น  เพระวัดมีพระสงฆ์เป็นที่สืบทอดศาสนา  โดยการสั่งสอนและการเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม และให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ แก้่คนไทย

………………………………………………………….

ระบบขับถ่าย

ระบบขับถ่าย  มีหน้าที่ขับถ่ายหรือกำจัดของเสียที่ร่ายกายอวัยวะที่ทำหน้าที่กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ได้แก่
– ไต กำจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปของน้ำปัสสาวะ
–  ลำไส้ใหญ่ กำจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปของอุจจาระ
–  ปอด กำจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปของก๊าซ
–  ผิวหนัง กำจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ

…………………………………..

การขับถ่ายปัสสาวะ

การขับถ่ายปัสสาวะ   ไต เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด จะได้น้ำปัสสาวะไหลไปตามท่อเล็กๆ ลงสู่กรวยไต ผ่านหลอดไตแล้วเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัวขับของเสียออกมาทางท่อปัสสาวะ

……………………………………………….